บทความ
 DID YOU KNOW
 ข่าวและกิจกรรม
 เครื่องวัดแอลฯ
 1 ดื่มมาตรฐาน
  ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการดื่มแล้วขับ
 พุงกับเบียร์
 ไม่ยอมตรวจวัดแอลกอฮอล์ โดน...
 ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์
คำถามที่พบบ่อย
ถ้าเป่าแล้วระดับแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ต้องทำอย่างไร ?
 แอลกอฮอล์จะถูกขจัดออกจากร่างกายได้อย่างช้าๆและเราไม่สามารถบังคับให้ร่าง กายทำงานได้เร็วขึ้นได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ร่างกายจะมีขบวนการในการขจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายด้วยวิธีการต่างๆเช่น การขับออกพร้อมกับปัสสาวะ ทางเหงื่อ หรือทางลมหายใจ แต่ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 90) จะถูกขจัดออกอย่างช้าๆโดยตับ ซึ่งตับจะใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการขจัดแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปขนาด 1 แก้วมาตรฐาน ดังนั้นหากมีการดื่มในปริมาณ 6 ถึง 8 แก้ว  ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง คุณจะต้องหยุดดื่มและรอประมาณ 6 ถึง 8 ชั่วโมง จึงจะทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดลดลง นั้นหมายความว่าถ้าคุณดื่มแอลกอฮอล์ 1 แก้ว คุณจะต้องรอเวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง ถึงจะขับรถได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้นหากต้องการให้มั่นใจว่าแอลกอฮอล์จะไม่ส่งผลต่อการขับขี่ จึงต้องใช้เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์เป็นตัวช่วยวัดให้แน่ใจว่าในร่างกายมี ระดับแอลกอฮอล์ในปริมาณตามที่กฎหมายกำหนด    
ความรับผิดทางกฎหมาย ?
กฎหมายกำหนดห้ามผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุรา(ปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)ฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

*ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปีและปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใช้ใบอนุญาตขับขี่

*ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 6 ปีและปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 120,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใช้ใบอนุญาตขับขี่

*ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000บาท ถึง200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ 
ตำรวจมีสิทธิ์สามารถเรียกผู้ขับขี่ ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ ?
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา 142 เจ้า พนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระ ราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเรียกผู้ขับให้หยุดรถและทดสอบเป่าลมหายใจในเครื่องตรวจวัดได้ทุกสถานที่ทุกเวลาเพื่อวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดและตรวจสอบว่าผู้ขับมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนหรือไม่ซึ่งโทษของการเมาแล้วขับนั้นครอบคลุมตั้งแต่ค่าปรับการบริการในชุมชนและอาจจะติดคุก

      หาก ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมทดสอบเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกัก ตัวผู้นั้นไว้ดำเนินการทดสอบได้ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณี เพื่อให้การทดสอบเสร็จสิ้นไป และเมื่อผู้นั้นยอมให้ทดสอบแล้ว ปรากฏว่าไม่ได้ฝ่าฝืนกฎหมายก็ให้ปล่อยตัวไปทันที 

      หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามไม่ยอมทดสอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
เหตุใดจึงควรเลือกใช้วิธีตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ ในเลือดจากลมหายใจ ?
  เนื่องจากมีความสะดวกต่อการวัดสามารถเก็บตัวอย่างได้ง่าย ผู้ถูกตรวจไม่เจ็บตัว ให้ผลการการวิเคราะห์รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งเสียค่าใช้จ่ายน้อย 
เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร ?
 เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่สามารถใช้ผลเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต้องเป็น เครื่องแบบตรวจยืนยันผล และได้รับการทดสอบจากหน่วยงานราชการที่ได้รับความน่าเชื่อถืออย่างสม่ำเสมอ ตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ มีใบรับรองการสอบเทียบและมีสติกเกอร์รับรองในช่วงเวลาติดอยู่ที่เครื่อง 
ทำไมคุณถึงควรตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ ?
 กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ ห้ามมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (50 มิลลิกรัม เปอร์เซ็นต์) ซึ่งเราไม่สามารถทราบได้จากการประมาณคร่าวๆ โดยการนับจากปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีก เช่น น้ำหนักตัว มวลกล้ามเนื้อ การบริโภคอาหาร อายุ เพศ ฯลฯ ดังนั้นเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่มีความแม่นยำจึงเป็นเครื่องมือทางกฎหมาย รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่ผู้บริโภคสามารถใช้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์เบื้องต้น ด้วยตัวเอง ว่าสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น 
 
Copyright © 2013-2015 shield-in All Rights Reserved. 
Create by  all webeasy