บทความ
 DID YOU KNOW
 ข่าวและกิจกรรม
 เครื่องวัดแอลฯ
 1 ดื่มมาตรฐาน
  ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการดื่มแล้วขับ
 พุงกับเบียร์
 ไม่ยอมตรวจวัดแอลกอฮอล์ โดน...
 ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องวัดแอลกอฮอล์

เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ มีบทบาทอย่างไร? กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ห้ามมีระดับแอลกอฮอล์ ในเลือด เกิน  50 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร(50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) ซึงเราไม่สามารถทราบได้จากการประมาณการคร่าวๆ โดยการนับปริมาณ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เช่น น้ำหนักตัว มวลกล้ามเนื้อ การ บริโภคอาหาร ฯลฯ  ดังนั้นเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่มีความแม่นยำจึงเป็นเครื่องมือทางกฎหมายรวมทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ผู้บริโภคสามารถใช้ตรวจวัดระดั[แอลกอฮอล์ ด้วยตัวเองว่าสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่เพื่อความความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
 
ความเป็นมาของเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ การศึกษาวิธีที่จะวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายมีมานานกว่า 150 ปีแล้วผู้ที่ศึกษาเป็นคนแรกคือ Francis Edmund Anstie ชาวอังกฤษ (ค.ศ. 1833 - ค.ศ. 1874) พบว่าแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปจะสามารถพบบางส่วน ได้ในลมหายใจและปัสสาวะ  นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Nielous (ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1910) ศึกษาพบว่า แอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป จะพบในลมหายใจ ปัสสาวะ น้ำลาย และเหงื่อ หลังจากนั้นได้มีนักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาวิจัยอีกหลายท่าน
ในระยะแรกการวิเคราะห์หาปริมาณแอลกอฮอล์ใช้วิธีเก็บตัวอย่างจากเลือดหรือปัสสาวะจากผู้ต้องสงสัย แต่มีปัญหาคือต้องวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการและต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ ทราบผลช้า และที่สำคัญคือ ไม่สามารถสื่อไปถึงปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้อย่างแท้จริง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในร่างกาย ดังนั้น ได้มีการนำวิธีการวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจมาใช้ในช่วงปี 1930-1953 ได้มีการ คิดค้นเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจขึ้น และได้มีการพัฒนาเครื่องมือวัดแอลกอฮอล์ เป็นรุ่นๆ จนถึงปัจจุบัน  การพัฒนาเครื่องมือวัดแอลกอฮอล์นี้ เพื่อออกแบบให้เครื่องสามารถวัดได้เฉพาะแอลกอฮอล์ ชนิดที่เป็น Ethyl อย่างเดียว  (เครื่องดื่มผสมแอล กอฮอล์ที่มนุษย์เราดื่มจะผสมแอลกอฮอล์ชนิด Ethyl) โดยไม่ถูกสอดแทรกโดยสาร อื่น เช่น acetone, chloroform,  ether , ethyl acetate,  methanol เป็นต้น เพื่อที่จะให้การวิเคราะห์ปริมาณลมหายใจใกล้กับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากที่สุด

เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ แบ่งตามลักษณะของเครื่องได้เป็นสองประเภท คือ
1.แบบพกพา (Mobile)
2.แบบประจำที่ (Stationary)
ถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
 
1.เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจคัดกรอง (screening) เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธี เป่าลมหายใจแบบตรวจคัดกรอง เป็นเครื่องที่ใช้ในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด  ผลที่แสดงจะเป็นตัวหนังสือว่าเกินหรือไม่เกินค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ เช่น แสดงเป็น pass หรือ Fail หรืออาจแสดงเป็นตัวเลข  สัญลักษณ์ต่างๆก็ได้
2.เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจยืนยันผล (Evidential)  เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์แบบตรวจยืนยันผล เป็นเครื่องที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด ผลที่ได้จะแสดงเป็นตัวเลข ว่ามีปริมาณในหน่วย mg/100ml เช่น 50 mg/100ml (แสดงว่า ในเลือด 100 มิลลิลิตรมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ 50 มิลลิกรัม) เป็นต้น


เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ
 
การทำงานของเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ
สำหรับการทำงานของเครื่องวัดระดับแอลกอลฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจนั้น ในการตรวจจะให้ผู้ตรวจเป่าลมหายใจเข้าเครื่องซึ่งมีตัว ตรวจจับแอลกอฮอล์ (Alcohol Detector) ตัวตรวจจับเมื่อได้รับแอลกอฮอล์จากลมหายใจ จะมีการแปรสภาพซึ่งอาจมองเห็นได้  เช่นการเปลี่ยนแปลงสีของสารเคมี หรือวัดได้จากพลังงาน เช่น กระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพนี้ จะถูกแปลค่าให้รายงาน ออกมาที่หน้าปัดของเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด (Blood Alcohol Concentration: BAC) ทั้งนี้ โดยอาศัยการคำนวณค่าจากค่าความสัมพันธ์ของสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็น ปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ
การที่เครื่องวัดฯ จะวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจได้ถูกต้อง ต้องใช้ลมหายใจจากส่วนลึกของปอดที่สัมผัสกับเส้นเลือดฝอยในปอด เพื่อจะให้ได้ค่าปริมาณแอลกอฮอล์ที่ถูกต้อง ผู้ผลิตได้ออกแบบให้เครื่องวัดแอลกอฮอล์ เมื่อถูกเป่าลมหายใจเข้าเครื่องต่อเนื่องไป ได้ระยะหนึ่ง ความแรงในการเป่าจะลดลง สูบไฟฟ้าในตัวเครื่องจะเก็บตัวอย่างลมหายใจประมาณ 1 ซีซี แบบอัตโนมัติ ในกรณีที่เครื่องไม่ได้ ออกแบบให้เก็บตัวอย่างลมหายใจแบบอัตโนมัติ การตรวจวัดต้องให้ผู้ถูกตรวจเป่าลมหายใจเข้าเครื่องอย่างต่อเนื่อง และผู้ที่ทำการตรวจวัด  จะนับ 1 ถึง 5 ในใจอย่างช้า ๆ เมื่อนับครบแล้ว จึงกดปุ่มรับตัวอย่าง เพื่อให้สูบไฟฟ้าเก็บตัวอย่าง

ตัวอย่างตรวจจับแบบต่างๆที่ใช้ในการวัดแอลกอฮอล์จากลมหายใจ มีด้วยกัน 4 แบบคือ
 
1. แบบ Colorimeter ใช้หลักการเปลี่ยนสีของ Potassium Dichromate จากสีเหลือง ถ้าได้รับไอของแอลกอฮอล์ จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ความเหมาะสม ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ ใช้ได้ครั้งเดียว
 
2. แบบ Semiconductor ใช้หลักการไอของแอลกอฮอล์ไปจับ Semi-conductor ทำให้ความต้านทานเปลี่ยนแปลง ความเหมาะสม ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ แต่ความเที่ยงตรงไม่ดี
 
3. แบบ Fuel cell เป็นแบบเซลไฟฟ้าเคมี (Electrochemical Fuel cell) เมื่อไอของ แอลกอฮอล์ถูกดูดซับโดย cell จะทำให้เกิดปฏิกิริยากลายเป็นกรดอะเซติคและเกิดกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสัดส่วน โดยตรงกับปริมาณแอลกอฮอล์ ความเหมาะสม มีความถูกต้องดี มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol เครื่องมี ขนาดเล็กพกพาได้สะดวก
 
4. แบบ Infrared Absorption อาศัยหลักการที่แสง Infrared จะถูกดูดซับมากน้อยเท่าใดขึ้นกับระดับความเข้มข้นของไอแอลกอฮอล์ ความเหมาะสม มีความถูกต้องดี มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol แต่เครื่องมีขนาดใหญ่ราคาสูงเหมาะใช้สำหรับใช้ประจำที่
 
การเลือกใช้เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ ควรเลือกอย่างไร?
แนะนำวิธีการเลือกซื้อเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานดังนี้
1.ควรเลือกเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ มีใบรับรองว่าเป็นเครื่องที่ทำการสอบเทียบมาตรฐานหรือ Calibrate  จากหน่วยงาน
2.มีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ราคาไม่ถูกจนเกินไปเพราะการเลือกซื้อเครื่องที่ราคาถูกมากๆ ประสิทธิภาพของค่าที่วัดได้อาจไม่ได้มาตรฐาน ตามไปด้วย
3.เลือกรุ่นที่ใช้งานง่าย มีขนาดและรูปทรงที่เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถพกพาได้สะดวก
4.การใช้งานหากต้องการผลวัดว่ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปหรือไม่ ควรเลือกใช้เครื่องตรวจวัดผลเบื้องต้นเพราะสะดวก ราคาถูก เหมาะสำหรับใช้วัดผลส่วนตัว แต่หากต้องการการวัดผลที่แม่นยำควรเลือกใช้เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์แบบยืนยันผล (Fuel cell)
Share on Facebook
 
Copyright © 2013-2015 shield-in All Rights Reserved. 
Create by  all webeasy