บทความ
 DID YOU KNOW
 ข่าวและกิจกรรม
 เครื่องวัดแอลฯ
 1 ดื่มมาตรฐาน
  ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการดื่มแล้วขับ
 พุงกับเบียร์
 ไม่ยอมตรวจวัดแอลกอฮอล์ โดน...
 ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์
เรื่องราวที่ควรรู้เกี่ยวกับการเมาแล้วขับ
     
 
  • การขับขี่ยานพาหนะนับเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนนอกจากผู้ขับจะต้องสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและเด็ดขาดแล้วต้องมีสมาธิสูงเช่นกันการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ความสามารถในการขับขี่และตัดสินใจลดลงเนื่องจากแอลกอฮอล์จัดอยู่ในประเภทเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดประสาททำให้ร่างกายและจิตใจทำงานช้าลงไม่ว่าจะดื่มในปริมาณมากและ/หรือปริมาณน้อยก็ตามการขับรถหลังจากที่บริโภคแอลกอฮอล์เข้าไปจะทำให้ปฏิกิริยาของร่างกายตอบสนองช้าลงความสามารถในการตัดสินใจลดลงและสายตาพร่ามัวผู้ขับขี่ที่ดื่มแอลกอฮอล์จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จากสติในประเทศไทยแสดงถึงเกือบ 44% ของการได้รับบาดเจ็บบนท้องถนน อุบัติเหตุของมอเตอร์ไซต์เผยให้เห็นว่าแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุถึง36%
 กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการเมาแล้วขับในประเทศไทย
  • ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ยานพาหนะที่ถูกต้องตามกฎหมายไทยคือต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์มิฉะนั้นต้องรับผิดทางกฎหมาย ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับตั้งแต่5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่เกิน 1 เดือน ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสถึงตาย มีโทษจำคุกตั้งแต่3ปี-10ปี และปรับตั้งแต่60,000-200,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ตามปกติแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์เพื่อตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดทางลมหายใจของผู้ขับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะมีแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปาก 15-20 นาทีถ้ามีการตรวจ   วัดระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจจะมีผลทำให้ระดับแอลกอฮอล์สูงกว่าความเป็นจริงดังนั้นควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าก่อนเพื่อกำจัดแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปาก
  • NOTE:รู้ไหมว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเรียกผู้ขับให้หยุดรถและทดสอบเป่าลมหายใจในเครื่องตรวจวัดได้ทุกสถานที่ทุกเวลาเพื่อวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดและตรวจสอบว่าผู้ขับมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนหรือไม่ซึ่งโทษของการเมาแล้วขับนั้นครอบคลุมตั้งแต่ค่าปรับการบริการในชุมชนและอาจจะติดคุกได้เรื่องแบบนี้รู้ไว้ก่อนก็ดีเหมือนกันนะ
  •  
  • วิธีหลีกเลี่ยงการเมาแล้วขับ
  • 1.ตัดสินใจเลือกให้เพื่อนที่ไม่ดื่มและไม่เมาเป็นคนขับรถกลับ และต้องแน่ใจด้วยว่าเพื่อนคนนั้นจะไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลยจริงๆ
  •  2.บันทึกเบอร์โทรศัพท์ของรถแท็กซี่ลงในมือถือและใช้เรียกบริการแท็กซี่             
  •  3.เอากุญแจรถของเพื่อนที่เมาไปซ่อนหรือเก็บเอาไว้เถอะ 
  •  4.อย่าลืมว่าร่างกายของคนเราต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการเผาผลาญพลังงาน "1ดื่มมาตรฐาน" ดัง นั้น แม้ว่าคุณจะรอจนถึงพรุ่งนี้เช้า แล้วค่อยขับรถกลับ คุณก็อาจจะยังมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดอยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการขับรถ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่บริโภคเข้าไป

   

  •  ทำอย่างไรจึงจะลดโอกาสที่จะถูกตรวจสอบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจสูง
  • การที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ตั้งแต่แก้วแรก จะเป็นการปฏิบัติตัวที่ดีที่สุด" อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะที่กลัวว่าจะถูกตรวจว่ามีปริมาณ แอลกอฮอล์ในเลือดเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ควรจะทำดังนี้
  • 1.งดการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15 นาที ก่อนการขับขี่หรือควบคุมยานพาหนะ และไม่ควร รับประทานยา หรือใช้สเปรย์ระงับกลิ่นปากก่อนการขับรถเพราะอาจมีผลต่อการตรวจวัดได้
  • 2.อย่างน้อยใน 5 นาที ที่ก่อนการถูกตรวจวัด ไม่ควรสูบบุหรี่ เนื่องจากกลิ่นบุหรี่จะสะสมในเครื่องวัด ทำให้เครื่องเสียได้ และกลิ่นบุหรี่ยังอาจเป็นที่น่ารังเกียจของผู้ที่จะใช้ต่อไป
  • 3.หากถูกเรียกเพื่อตรวจวัดลมหายใจ ก่อนท่านจะเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจจะต้องแน่ใจว่า หลอดเป่าที่ใช้ต้องเป็นของใหม่ที่ได้ทำให้ปลอดเชื้อ (Sterilization) แล้ว 
  • ในกรณีที่ถูกตรวจแล้วพบว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจเกิน 50 mg% หรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่มากนัก และผู้ที่ถูกตรวจไม่แน่ใจในผลการตรวจวัดฯ หรือคิดว่าตัวเองไม่เมาเหล้าถึงขนาดนั้น ผู้ที่ถูกตรวจมีสิทธิ์ตามกฎหมาย ที่จะร้องขอการตรวจพิสูจน์ได้โดยวิธีการตรวจจากปัสสาวะหรือตรวจวัดจากเลือด โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจวัด ซึ่งการตรวจวัดนี้จะกระทำภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมาย

 

Share on Facebook
 
Copyright © 2013-2015 shield-in All Rights Reserved. 
Create by  all webeasy