บทความ
 DID YOU KNOW
 ข่าวและกิจกรรม
 เครื่องวัดแอลฯ
 1 ดื่มมาตรฐาน
  ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการดื่มแล้วขับ
 พุงกับเบียร์
 ไม่ยอมตรวจวัดแอลกอฮอล์ โดน...
 ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์
เว็บบอร์ด
ชื่อผู้ใช้งาน : รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
 
 
กระดานสนทนา
 
  ดื่มเบียร์ไป 1 ขวดตอน 10 โมงเช้า จะต้องมีธุระขับรถไปต่างจังหวัดตอน 17 .00 น.จะตรวจแอลกอฮอล์ในลมหายใจไหม?

 

เมื่อวานนี้มีคนโทรมาถามเรื่อง  ดื่มเบียร์ไป 1 ขวดตอน 10 โมงเช้า  จะต้องมีธุระขับรถไปต่างจังหวัดตอน 17 .00 น.จะตรวจแอลกอฮอล์ในลมหายใจไหม?

shield ก็คิดในใจมันคิดว่าเป็น google หรือไงว่ะ แหมถามได้ทุกเรื่องซิน่า?. แต่แหม! ถามมาแล้วก็ตอบๆไปหน่อยก็แล้วกัน

ก็เลยตอบไปแบบเท่าที่ความรู้ในสมองจะมีคือ การจะมีความเข้มข้นของปริมาณ แอลกอฮอล์ในร่างกายนั้น  ขึ้นอยู่กับ  ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม ถ้าความเข้มข้นมากปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูง อัตราการดื่ม ถ้าดื่มเร็ว ปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูง การดื่มเมื่อไม่มีอาหารในกระเพาะ ปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูงกว่าการดื่มเมื่อมีอาหารในกระเพาะ น้ำหนักของร่างกาย คนที่มีน้ำหนักมาก ปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือดจะต่ำกว่าคนที่มีน้ำหนักน้อย ถ้าดื่มในปริมาณที่เท่ากัน

 ซึ่งในกรณีของคนนี้ มีน้ำหนัก 87 กก.  ดื่มขณะมีงานเลี้ยงอะไรสักอย่าง  และระยะเวลาที่ต้องเดินทางห่างถึง 7 ชม.  คิดว่าน่าจะรอด  ก็ขอให้โชคดี  (ตรวจเจอ จะได้เลิกดื่มแล้วขับกันซะที )เห็นว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับนักดื่มทั้งหลายที่ยังดื่มแล้วขับจึงมาแบ่งปัน  และค้นวิชาการเพิ่มเติมมาอีกนิดหน่อย

ดื่มแค่ไหนถึงพอดี

สุราหนึ่งหน่วย หมายถึง เบียร์ 360 cc  ไวน์150 cc  บรั่นดี 45 cc วิสกี้ผสม1แก้ว ปัญหาว่าดื่มแค่ไหนถึงพอดีมีคำแนะนำง่ายๆดังนี้

ผู้ชายให้ดื่มสุราระหว่าง 1-2 หน่วยต่อวัน

ผู้หญิงให้ดื่มระหว่าง 1 หน่วยต่อวัน

ผู้ที่ดื่มมากกว่า 14 หน่วยสุราต่อสัปดาห์หรือดื่มครั้งละ 4 หน่วยสำหรับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงที่ดื่มมากกว่า 7 หน่วยต่อสัปดาห์หรือครั้งละ 3 หน่วยสุรา จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ความแตกต่างของปริมาณสุราในผู้หญิงและผู้ชายอาจเกิดจากหลายๆปัจจัย เช่น ขนาดมวลร่างกาย น้ำหนักตัว  ปริมาณน้ำในร่างกาย ความสามารถในการสันดาปสุรา ฯลฯ

แม้ว่าคุณจะนานๆจะดื่มสักครั้ง หากต้องมีการขับขี่รถบยนต์ต้องระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุ เมื่อเปรียบเทียบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุทจราจร พบว่าคนที่มีระดับแอลกอฮอล์ใน เลือด (mg% ) มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากกว่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุราดังนั้น เพื่อความปลอดภัยสำหรับทุกท่าน หากท่านเป็นผู้ขับขี่ ไม่ควรดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรใช้รถโดยสารสาธารณะ หรือให้ผู้อื่นขับให้จะปลอดภัยกว่า เพราะ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แม้เพียงเล็กน้อย ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้

อ่าน : 1,303 โดย shield เมื่อ 21 Apr 2017 17:25
 
 
 
 
Copyright © 2013-2015 shield-in All Rights Reserved. 
Create by  all webeasy